บทความทั้งหมด
สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี
สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี
สำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี

โรคฮิตในเด็กเล็ก

Post: 13 Feb 20 Time: 00:09 Views : 1,655
1.ไข้หวัด

 ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมีหลายสายพันธุ์สามารถเป็นได้ตลอดทั้งปี อาการของไข้หวัด จะเริ่มจากมีอาการคัดจมูก น้ำมูกใสๆ จามบ่อย คอแห้ง เจ็บคอ เป็นไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ไอแห้งๆ หรือไอแบบมีเสมหะ แต่มีน้ำมูกหรือเสมหะนานเกิน 1สัปดาห์ น้ำมูกอาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว จากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้เกิดอาการ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบตามมาได้การป้องกันโรคหวัดในเด็กที่ดีที่สุดคือพยายามหลีกเลี่ยงที่ที่มีคนหนาแน่นไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย รักษาสุขอนามัยหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ


2. ไข้หวัดใหญ่ 

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ซึ่งมีทั้งสายพันธุ์ และ สามารถติดต่อกันได้ง่าย ผ่านทางลมหายใจ ไอ จาม และยังสามารถติดต่อได้ทางละอองฝอยของน้ำมูกและน้ำลาย รวมทั้งจากมือของเด็กที่มีเชื้อโรค แล้วนำมือเข้าปากหรือป้ายจมูก อาการจะเริ่มจากมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อ่อนเพลีย และต่อมาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ และอาจมีอาการของระบบอื่นๆ ได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง อาการที่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาคือ ลูกจะมีไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดหัว เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว อ่อนเพลียมากและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น โรคปอดบวมได้ การป้องกันคือ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ เดือนขึ้นไป

3. หลอดลมอักเสบจากเชื้อ RSV 

เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง สามารถเกิดการติดเชื้อได้ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ เมื่อติดเชื้อไวรัส RSV ในทางเดินหายใจส่วนล่างแล้ว ผู้ติดเชื้อร้อยละ 70 มักเกิดอาการปอดบวมและหลอดลมฝอยอักเสบอาการของโรค RSV ในเด็กโต อาจมีอาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา คือ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล อาจมีอาการเสียงแหบจากกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ ไอแบบมีเสมหะร่วมด้วย ซึ่งจะหายได้ใน 5-7 วัน แต่ในเด็กเล็กจะมีอาการที่รุนแรงกว่า คือ จะมีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก มีน้ำมูกเสมหะมากและเหนียว หรือหายใจมีเสียงวี้ดแบบหลอดลมฝอยอักเสบ เมื่อไอมากอาจมีอาการอาเจียน ซึม ตัวเขียว กินข้าว น้ำ นมไม่ได้  ในเด็กเล็กที่อ่อนแอมาก เช่น เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีโรคหัวใจ โรคปอด และหอบหืดอยู่แล้ว อาจมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว โดยอาจมีอาการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ หรือหายใจล้มเหลว จนต้องนำเข้าหอพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ (ICU) และอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ การป้องกัน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ และโรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

 

4. ไข้อีดำอีแดง  

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย group A streptococci  โดยแพร่กระจายเชื้อผ่านทางน้ำลาย น้ำมูก โดยการไอ จาม

อาการมักจะเริ่มด้วยการมีไข้/เจ็บคอ มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดท้องตามมาได้ และจะมีผื่นเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดงที่เริ่มจากบริเวณคอและขาหนีบ หลังจากนั้นจะกระจายไปทั่วตัว คลำแล้วผิวสากคล้ายกระดาษทราย กดแล้วจาง ลักษณะลิ้นเป็นฝ้าหนาขึ้น มีสีออกชมพูคล้ายผลสตรอเบอรี่ การรักษา คือ การรับประทานยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนนิซิลินให้ครบ 10 วัน การป้องกัน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

 

5. มือเท้าปาก 

เกิดจากเชื้อไวรัสได้หลายชนิด เช่น Enterovirus และ Coxsackievirus สามารถติดต่อกันได้โดยง่ายจากการสัมผัส น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ และน้ำในตุ่มพองของผู้ป่วยโดยเข้าทางปากโดยตรง หรืออาจจะติดมากับมือ ของเล่น การไอจาม การใช้ภาชนะในการรับประทานอาหารร่วมกันอาการจะมีไข้สูง เจ็บคอ มีแผลเกิดขึ้นในปาก/ลิ้น เพดานปากและกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากทานไม่ได้และงอแง มีผื่นบนฝ่ามือ/ฝ่าเท้า ในบางรายอาจพบที่ก้นด้วย โดยผื่นที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสและแตกออกเป็นแผลหลุมตื้นๆ บางครั้งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่โดยส่วนใหญ่โรคนี้ไม่มีความรุนแรงจะมีไข้ประมาณ วัน และหายเป็นปกติภายใน 7-10 


6. ท้องเสียจากเชื้อไวรัส เช่น Norovirus หรือ Rotavirus โรคนี้เกิดจากการที่มีเชื้อไวรัสเข้าปากลูกโดยตรงจากการสัมผัสกับผู้ป่วย

อาการทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ปวดหัว มีไข้ หากมีอาการรุนแรงถ่ายเหลวมากๆ จะเกิดการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ ทำให้ช็อก อาจเสียชีวิตได้ การรักษาคือการให้สารน้ำทดแทนให้เพียงพอกับปริมาณที่ถ่ายเลว ทานอาหารอ่อนๆ

การป้องกันคือ พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ปรุงใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสะอาด ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส rota เพียงชนิดเดียว ซึ่งเริ่มให้ตั้งแต่อายุ เดือนขึ้นไปและไม่เกินอายุ เดือนสำหรับโดสแรก

 

7. ไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (dengue virus) ซึ่งมีอยู่ สายพันธุ์ สามารถแพร่ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ

อาการของโรคคือ มีไข้สูงหลายวัน ปวดศีรษะ ซึม ปัสสาวะน้อย อาจมีอาการหวัด ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย จะมีไข้อยู่ประมาณ 4-5 วัน จากนั้นไข้จะลงและมีผื่นขึ้น ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนเลือดออกจากเกร็ดเลือดต่ำ หรือสูญเสียน้ำออกไปนอกหลอดเลือดทำให้เกิดอาการช็อกได้ ในปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถกำจัดเชื้อไข้เลือดออกได้

การป้องกันไข้เลือดออกคือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด ลดปริมาณยุงลายโดยกำจัดแหล่งน้ำที่จะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง ใช้มุ้งหรือติดตั้งมุ้งลวดกันยุง ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ซึ่งแนะนำให้ฉีดในคนที่เคยเป็นไข้เลือดออกมาแล้วเท่านั้น สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ ขวบขึ้นไป

 

8. อีสุกอีใส เกิดจากเชื้อไวรัส ติดกันง่ายมาก โดยการสัมผัสคนที่กำลังป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส หรือทางการไอจาม

อาการเริ่มแรกจะมีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว ทานข้าวน้อยลง และเริ่มมีตุ่มแดงขึ้นตามตัว แขนขา และขึ้นที่หน้า หลังจากนั้น ตุ่มแดงจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสขอบแดง และเมื่อใกล้หายจะเปลี่ยนเป็นตุ่มขาวๆ แล้วตกสะเก็ดและค่อยๆ หลุดออกไป เหลือรอยแผลเป็นดำๆ เด็กบางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการแกะเกาตุ่มทำให้เกิดแผลเป็นหนอง และเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนทำให้มีอาการปอดบวม สมองอักเสบ เยื่อสมองอักเสบ ถึงขั้นเสียชีวิตได้

การป้องกัน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ และฉีดวัคซีนป้องกันอีสุกอีใสซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ ปีขึ้นไป

 

9. โรคหัด เป็นโรคไข้ออกผื่นที่กลับมาเจอมากขึ้นอีกครั้ง เกิดจากเชื้อไวรัส Measles ซึ่งพบได้ในจมูก และลำคอของผู้ป่วย ซึ่งติดต่อกันได้ง่ายมากโดยการไอ จาม หรือพูดกันในระยะใกล้ชิด เชื้อไวรัสจะกระจายอยู่ในละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และเข้าสู่ร่างกายโดยทางการหายใจ บางครั้งเชื้ออยู่ในอากาศเมื่อหายใจเอาละอองที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไปก็ทำให้เป็นโรคได้ ผู้ติดเชื้อจะเป็นโรคเกือบทุกราย โรคหัดเคยมีอุบัติการณ์ลดลงไปหลังมีการเริ่มฉีดวัคซีนแต่กลับมามีการระบาดใหม่อีกครั้งในหลายประเทศจากกลุ่มคนที่ต่อต้านวัคซีน ไม่ยอมรับวัคซีนโรคหัด อาการเริ่มด้วยมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง 1-2 วัน ก่อนผื่นขึ้นจะพบจุดขาวๆ เล็กๆ มีขอบสีแดงๆ อยู่ในกระพุ้งแก้ม เรียกว่า Koplik’s spots อาการต่างๆ จะมากขึ้นพร้อมกับไข้สูงขึ้น และจะสูงเต็มที่เมื่อมีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ ลักษณะผื่นนูนแดง ติดกันเป็นปื้นๆ โดยจะขึ้นที่หน้า บริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา เมื่อผื่นแพร่กระจายไปทั่วตัว ซึ่งกินเวลาประมาณ 2-3วัน ไข้ก็จะเริ่มลดลง ผื่นระยะแรกมีสีแดงจะมีสีเข้มขึ้น เป็นสีแดงคล้ำหรือน้ำตาลแดง ซึ่งคงอยู่นาน 5-6 วัน กว่าจะจางหายไปหมด กินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุยหลังจากนั้นได้

การป้องกัน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ และฉีดวัคซีนป้องกันหัดซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ ปีขึ้นไป


บทความจาก พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

Share this article...
0
0
0
บริษัท อะมอร์เบบี้ จํากัด
898/98 ถ.หทัยราษฎร์
แขวงบางชัน เขตคลองสามวา
กรุงเทพฯ 10510
Tel : 066-159-2995
Email : amorbabythailand@gmail.com
Follow Us:
0

ตะกร้าของฉัน

สินค้าทั้งหมด
0 รายการ
จำนวนเงิน
0 Bht.
Top
หน้าแรก สินค้า ตะกร้าสินค้า 0 บัญชีของฉัน