บทความทั้งหมด
สำหรับเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี
สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี
สำหรับเด็กอายุ 7-12 ปี

อาหารสำหรับวัยเริ่มหม่ำ

Post: 13 Feb 20 Time: 00:01 Views : 1,575

เริ่มอาหารเสริมเมื่อไร เริ่มเมื่อลูกอายุ เดือนขึ้นไป เนื่องจากเด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการและ ความพร้อมในการรับประทานอาหารเสริมช้าเร็วแตกต่างกัน อาการที่แสดงว่าลูกพร้อมสำหรับการเริ่มอาหารเสริมคือ การที่ลูกสามารถควบคุมการทรงตัวของศีรษะและลำคอได้ดี,จับลูกนั่งแล้วลูกสามารตั้งคอแข็งได้เป็นเวลานานลูกแสดงท่าทีสนใจเมื่อเห็นผู้อื่นรับประทานอาหารมองตามอาหารดูดปากน้ำลายไหล


เริ่มอะไรเป็นอาหารเสริมมื้อแรกให้ลูก มื้อแรกของลูกควรเริ่มจากข้าวสวยหรือข้าวต้มบด กับน้ำซุปใสจากน้ำต้มกระดูกโดยไม่ปรุงรสใดๆ หรืออาจใช้น้ำนมแม่เพื่อให้ลูกคุ้นเคยรสชาติ โดยบดข้าวสวยผ่านตระแกรงแล้วผสมน้ำซุปให้ใสขึ้น เพื่อไม่หนืดจนเกินไป

 

เริ่มให้อาหารเสริมอย่างไ เริ่มโดยฝึกให้ลูกนั่งบนโต๊ะทานอาหาร มื้อแรกของลูกนั้นคุณแม่อาจจะเริ่มป้อนเพียง3-4 คำก่อน เพื่อให้ลูกเคยชินกับการป้อนอาหารจากช้อนใช้ปลายช้อนป้อน ลูกจะเรียนรู้ฝึกจะใช้ลิ้นตวัดอาหารและกลืนลงไป เมื่อลูกสามารถกลืนได้ดีแล้ว จึงจะค่อยๆเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆในวันถัดไป โดยใช้เวลาป้อนอาหารไม่นานเกิน 30 นาที และขณะป้อนอาหารไม่ควรให้ดูโทรทัศน์หรือทำกิจกรรมอย่างอื่นควบคู่กันไปด้วย และที่สำคัญ คือควรสร้างบรรยากาศที่ดีในการทานอาหาร ป้อนด้วยความนิ่มนวล พูดคุย สบตากับลูกขณะป้อน และไม่บังคับเมื่อลูกมีท่าทีปฏิเสธ 

 

ปริมาณเท่าไร เริ่มให้อาหารเสริมทีละน้อย 1-2 ช้อนชา แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนได้ประมาณ 200กรัม/มื้อ

1.เมื่อลูกอายุ เดือน ป้อนอาหารเสริม มื้อ บดละเอียดเพื่อป้องกันการสำลัก เริ่มจากเพียง 2-3 ช้อนจนคุ้นเคยแล้วจึงเพิ่มปริมาณมากขึ้น และค่อยๆปรับความหนืดให้เพิ่มมากขึ้น

2.เมื่อลูกอายุ 7-8 เดือน ควรเพิ่มอาหารเสริมเป็น มื้อ ขณะเดียวกัน จำนวนมื้อนม ก็จะลดลงเหลือ 4-5 ครั้งต่อวัน และเริ่มปรับอาหารให้มีลักษณะหยาบมากขึ้น แต่ยังคงนิ่มเคี้ยวได้ง่าย

3.เมื่อลูกอายุ 10-12 เดือน ควรเพิ่มอาหารเสริมเป็น มื้อ และบดให้ละเอียดน้อยลง และยังคงเป็นอาหารที่อ่อนนุ่มไม่แข็งหรือเหนียวจนเกินไป รสไม่จัด 

 

ควรให้ทานอะไร อาหารเสริมสำหรับลูกน้อย ควรมีสารอาหารครบทั้ง หมู่ ได้แก่ ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว น้ำมัน ผักและผลไม้ ควรเริ่มให้อาหารเสริมทีละอย่างและให้ไปประมาณ วันก่อนที่จะเริ่มให้อาหารชนิดใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้รู้ว่าทารกอาจมีการแพ้อาหารชนิดใดและทำให้ทารกได้คุ้นเคยกับอาหารชนิดใหม่ๆ

 

อาหารเด็กสำเร็จรูปดีหรือไม่ ถ้าคุณแม่ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำอาหารให้ลูกน้อย อาจจะใช้อาหารสำเร็จรูปได้ในบางครั้ง แต่มีข้อควรระวังคือ อาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของอาหารหลายชนิดร่วมกัน เช่น แป้งสาลี นมวัว ไข่ ถ้ามีอาการแพ้อาจไม่ทราบว่าเกิดการแพ้จากอะไร และอาหารสำเร็จรูปเหล่านี้มักมีสารอาหารไม่ครบถ้วน คือมักมีแป้งหรือข้าวเป็นส่วนใหญ่ คุณแม่จึงควรเติมอาหารอื่นลงไปด้วยเช่น ไข่แดง ตับ ผัก เป็นต้น เพื่อให้ลูกน้อยได้สารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสม


บทความจาก พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

Share this article...
0
0
0
บริษัท อะมอร์เบบี้ จํากัด
898/98 ถ.หทัยราษฎร์
แขวงบางชัน เขตคลองสามวา
กรุงเทพฯ 10510
Tel : 066-159-2995
Email : amorbabythailand@gmail.com
Follow Us:
0

ตะกร้าของฉัน

สินค้าทั้งหมด
0 รายการ
จำนวนเงิน
0 Bht.
Top
หน้าแรก สินค้า ตะกร้าสินค้า 0 บัญชีของฉัน