การสร้างนิสัยการกินที่ดีให้ลูกน้อยถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะทำให้ลูกได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์อย่างเพียงพอ และมีการเจริญเติบโตที่เหมาะสมแล้ว ยังเป็นการฝึกวินัยทางอ้อมให้ลูกรู้จักเวลา รู้จักควบคุมตนเอง สามารถทานได้ด้วยตัวเอง นั่งทานเป็นที่เป็นทางโดยไม่ต้องคอยถือจานข้าวเดินตามป้อน เราลองมาฝึกลูกน้อยให้มีนิสัยการกินที่ดีตามเคล็ดลับเหล่านี้กันค่ะ
2. ฝึกให้ลูกรับประทานอาหารเป็นเวลา ควรกำหนดเวลารับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้ชัดเจนและเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน พยายามไม่ให้เวลาอาหารตรงกับช่วงเวลาที่ลูกง่วง จำกัดเวลาการกินในแต่ละมื้อให้ไม่เกินครึ่งชั่วโมง เมื่อหมดเวลาควรเก็บอาหาร โดยไม่มีการให้ขนมหรืออาหารทดแทน ไม่ควรให้กินขนมหรือนมก่อนมื้ออาหาร ไม่เร่งหรือดุ เวลาที่ลูกงอแงในการกินอาหาร เพราะจะทำให้ลูก ยิ่งต่อต้านการกินมากขึ้น
3. ฝึกนั่งกินข้าวบนโต๊ะ ควรเริ่มฝึกให้ลูกนั่งโต๊ะกินข้าวตั้งแต่มื้อแรกของลูก ไม่ใจอ่อนหรืออนุโลมให้ลูกน้อยลงจากเก้าอี้ก่อนกินเสร็จโดยเด็ดขาด ถ้าทำได้ลูกก็จะเรียนรู้ได้ว่าจะต้องนั่งที่โต๊ะกินข้าวเวลาทานอาหาร หรือลองให้ลูกนั่งรับประทานอาหารพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่ เพราะเด็ก ๆ มักจะชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ และอาจช่วยให้รู้สึกอยากทานอาหารร่วมด้วย
5. ตักอาหารให้พอดีไม่มากเกินไป คุณพ่อคุณแม่ควรตักข้าวหรืออาหารให้ลูกครั้งละน้อย ๆ ให้ลูกมีกำลังใจว่า เขาทานหมด ถ้าหมดแล้วลูกยังไม่อิ่มค่อยเติมให้ ลูกจะได้เคยชินกับการทานอาหารจนหมดจาน
6. ฝึกลูกได้รับประทานอาหารที่หลากหลาย ควรมีเมนูอาหารที่หลากหลาย ค่อย ๆ เปลี่ยนชนิดของอาหารไปเรื่อย ๆ หากลูกปฏิเสธไม่ยอมกิน คุณแม่อย่าเพิ่งหยุดให้อาหารชนิดนั้น ๆ เพราะอาจต้องใช้ความพยายามถึง 10-15 ครั้งกว่าลูกน้อยจะเรียนรู้ที่จะชอบอาหารใหม่ ๆ โดยอาจค่อย ๆ ปนไปกับอาหารเดิมที่ลูกกินได้อยู่แล้ว และเติมทีละเล็กละน้อยเขาจะไม่ค่อยรู้สึกว่ามีอะไรแปลกใหม่ จัดอาหารที่มีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เส้น นิ่ม แข็ง หนึบหนับสลับกันไปบ้าง เพื่อให้ลูกได้สนุกสนานไปกับการกิน ได้เรียนรู้วิธีการกินอาหารที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ลูกยังได้หยิบจับพัฒนากล้ามเนื้อมันเล็กฝึกการประสานระหว่างตา
7. ยอมรับในธรรมชาติของวัยช่างเลือก เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหัดเดิน ลูกจะเริ่มค้นพบว่าตัวเองชอบ และไม่ชอบกินอะไร เริ่มจู้จี้จุกจิกกับการเลือกอาหารมากขึ้น ทำให้ปริมาณอาหารที่กินในแต่ละมื้อมากน้อยแตกต่างกันตามอาหารที่ชอบ คุณแม่ไม่ควรบังคับหรือยัดเยียดให้ลูกกินอาหารที่ไม่ชอบ เพราะนอกจากลูกจะต่อต้านแล้ว ยังอาจทำให้เป็นความฝังใจเวลาโตขึ้น ทำให้ไม่ชอบ หรือเกลียดอาหารชนิดนั้น ๆ ไปเลย
8. สร้างบรรยากาศที่ดีในการทานอาหาร สมาชิกในครอบครัวทุกคนควรนั่งกินพร้อม ๆ กันที่โต๊ะอาหารให้เป็นเวลา ในระหว่างมื้ออาหารไม่ควรมีการทำกิจกรรมอื่นๆ ไปด้วย เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นของเล่น เพราะลูกจะหันไปสนใจสิ่งอื่นแทนอาหาร ไม่ควรดุหรือบังคับให้ลูกรับประทานอาหารเพราะจะส่งผลให้ลูกเกิดความรู้สึกในแง่ลบต่อการรับประทานอาหาร ไม่ต้องตั้งเป้าว่าลูกจะต้องกินให้หมดจานทุกครั้ง เพราะจะสร้างความกดดันให้กับทั้งคุณแม่และลูก
10. อดทน จริงจัง สม่ำเสมอ การฝึกให้ลูกทานอาหาร จำเป็นต้องมีวินัยในการฝึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกทานอาหารได้ด้วยตนเองให้เร็วที่สุด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรแสดงความกังวลหรือหงุดหงิดเกี่ยวกับการทานอาหาร ไม่ควรดุว่าหรือลงโทษอย่างไม่สมเหตุผลระหว่างเวลารับประทานอาหาร และไม่ควรบังคับให้เด็กรับประทานอาหารที่พ่อแม่ต้องการ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกใช้การไม่รับประทานอาหารมาต่อรองจนกลายเป็นพฤติกรรมทางด้านอารมณ์ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณหมอแอน พญ.ปิยะรัตน์ เลิศบรรณพงษ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ